อำนาจหน้าที่ของสำนักงานปศุสัตว์เขต 3

1. ศึกษา วิเคราะห์ และวิจัยเพื่อพัฒนางานด้าสุขภาพสัตว์และสุขอนามัยสัตว์ การควบคุม การป้องกัน การบำบัดโรคสัตว์ การชันสูตรโรสัตว์ และระบาดวิทยาทางสัตวแพทย์

2. ศึกษา วิเคราะห์ และวิจัยเพื่อพัฒนางานด้านมาตรฐาน ตรวจสอบคุณภาพสินค้าปศุสัตว์ และส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับการปศุสัตว์

3. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อพัฒนางานด้านการผลิตสัตว์ อาหารสัตว์ สุขภาพสัตว์ และสุขอนามัยสัตว์

4. จัดทำแผนยุทธศาสตร์ แผนการปฏิบัติงาน และการบูรณาการแผนด้านการปศุสัตว์ในระดับเขตและระดับจังหวัด

5. ติดตาม ประเมินผลการปฏิบัติงาน ให้คำปรึกษา แนะนำ และกำกับการดำเนินงานของสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์ กฎหมายว่าด้วยการบำรุงพันธุ์สัตว์ กฎหมายว่าด้วยการควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ กฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลสัตว์ กฎหมายว่าด้วยโรคพิษสุนัขบ้า กฎหมายว่าด้วยการควบคุมการฆ่าสัตว์และจำหน่ายเนื้อสัตว์ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

6. เป็นศูนย์การศึกษาเกี่ยวกับการตรวจวินิจฉัยโรคสัตว์ การรักษาพยาบาลสัตว์ และการให้บริการสุขภาพสัตว์

   7. เป็นศูนย์ให้บริการข้อมูลข่าวสารและสารสนเทศด้านการปศุสัตว์และเศรษฐกิจการปศุสัตว์

8. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

การแบ่งส่วนราชการและอำนาจหน้าที่

สำนักงานปศุสัตว์เขต 3 แบ่งออกเป็น 4 ส่วน 1 ฝ่าย 1 ศูนย์ ดังนี้

ฝ่ายบริหารทั่วไป

   1) ดำเนินการเกี่ยวกับงานสารบรรณ และงานธุรการ

   2) ดำเนินการเกี่ยวกับงานด้านการเงิน การบัญชี วัสดุ ครุภัณฑ์

   3) ดำเนินการบริหารงานบุคคลทั่วไป และการติดต่อประสานงาน

ส่วนสุขภาพสัตว์

   1) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย ด้านสุขภาพสัตว์ การควบคุมป้องกันและบำบัดโรคสัตว์

2) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย รูปแบบวิธีการพัฒนา และกำหนดเทคโนโลยีทีเหมาะสมในการพัฒนาสุขภาพสัตว์ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ

3) ศึกษา วิเคราะห์ จัดทำแผนการปฏิบัติงานด้านสุขภาพสัตว์ การควบคุมป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ รวมทั้งควบคุมการดำเนินงานตามกฎหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์ สถานพยาบาลสัตว์ โรคพิษสุนัขบ้า และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ที่รับผิดชอบ

   4) เป็นศูนย์ระบาดวิทยาในพื้นที่รับผิดชอบ

   5) ให้คำปรึกษาแนะนำ และถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านสุขภาพสัตว์ทั้งภาครัฐและเอกชน

ส่วนมาตรฐานการปศุสัตว์

1) ศึกษา วิเคราะห์ จัดทำแผนการปฏิบัติงานด้านสุขอนามัยสินค้าจากการปศุสัตว์รวมทั้งการตรวจรับรอง และควบคุมการดำเนินงานตามกฎหมายและมาตรฐานเกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ ยาสัตว์ สินค้าปศุสัตว์ สิ่งแวดล้อมจากการปศุสัตว์ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

2) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย ด้านการพัฒนามาตรฐานการผลิต การตรวจสอบคุณภาพสินค้า และส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับการปศุสัตว์

3) ให้คำปรึกษา แนะนำ และถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการตรวจรับรองและควบคุมคุณภาพสินค้าปศุสัตว์ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน

ส่วนส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์

1) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยประยุกต์เกี่ยวกับระบบการผลิตและระบบเศรษฐกิจการปศุสัตว์ที่เหมาะสมในพื้นที่ที่รับผิดชอบ

2) ดำเนินการถ่ายทอดเทคโนโลยี สาธิต และใหคำปรึกษา แนะนำ ระบบการผลิตและระบบเศรษฐกิจการปศุสัตว์ ทั้งภาครัฐและเอกชนในพื้นที่ที่รับผิดชอบ

   3) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนาเกษตรกรในพื้นที่ที่รับผิดชอบ

ส่วนยุทธศาสตร์และสารสนเทศการปศุสัตว์

1) ศึกษา วิเคราะห์นโยบายยุทธศาสตร์ด้านการปศุสัตว์ และจัดทำแผนยุทธศาสตร์ แผนงาน โครงการและงบประมาณด้านการพัฒนาปศุสัตว์ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ

2) ศึกษา วิเคราะห์ เกี่ยวกับระบบบริหารจัดการเขตเศรษฐกิจด้านปศุสัตว์ (Zoning) ที่เหมาะสมในพื้นที่รับผิดชอบ

   3) จัดทำสถิติข้อมูล และสารสนเทศด้านการปศุสัตว์ในพื้นที่ที่รับผิดชอบ

   4) จัดทำแผนบริหารทรัพยากรบุคคลและแผนพัฒนาบุคลากรในเขตพื้นที่

   5) ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงานตามแผนงานโครงการ

   6) เป็นศูนย์บริหารจัดการภัยพิบัติด้านปศุสัตว์ในพื้นที่เขตปศุสัตว์

ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ตอนล่าง)

   1) ตรวจวินิจฉัย วิเคราะห์ ทดสอบและชันสูตรโรคสัตว์ในพื้นที่ที่รับผิดชอบ

   2) ตรวจสอบคุณภาพสินค้าปศุสัตว์และมาตรฐานสุขภาพสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ที่รับผิดชอบ

3) ศึกษา ค้นคว้า วิจัยเกี่ยวกับสุขภาพสัตว์ มาตรฐานสินค้าปศุสัตว์และสุขอนามัยสิ่งแวดล้อมด้านการปศุสัตว์

4) สำรวจ เฝ้าระวัง สอบสวนภาวะโรคระบาดและติดตามผล เพื่อสนับสนุนการการตรวจวินิจฉัย วิเคราะห์ ทดสอบและชันสูตรโรคสัตว์

   5) อบรม เผยแพร่วิชาการรวมถึงให้คำแนะนำและแก้ปัญหาสุขภาพสัตว์

   6) วิเคราะห์และรายงานภาวะโรคต่างๆ ในพื้นที่ที่รับผิดชอบ

   7) เป็นศูนย์ข้อมูลและเครือข่ายข้อมูลด้านสุขภาพสัตว์ประจำภูมิภาค

8) ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมายและงานตามนโยบายของรัฐ แก้ไขปัญหาในพื้นที่ที่รับผิดชอบ

9) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย